วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557




โทรทัศน์ครู




สรุป

    เรื่อง แม่เหล็ก 

ขั้นตอนการสอน 

1. เริ่มจากการใช้คำถามสนทนาโต้ตอบว่า 
เด็กๆรู้ไหมว่าแม่เหล็กคืออะไร?  เด็กๆตอบว่า คือตัวที่ติดเหล็กได้
2. นำแท่งแม่เหล็กมาให้เด็กๆได้ดู สังเกต และสัมผัส  แล้วถามว่าแท่งแม่เหล็กที่เด็กๆจับอยู่นั้นมีลักษณะอย่างไร  เด็กๆตอบว่า แข็ง หนัก 
3. ให้เด็กๆหาสิ่งของที่อยุ่ภายในห้องว่าสิ่งใดที่แม่เหล็กจะดูดได้บ้าง เด็กๆเลือกที่จะหยิบ ขวดที่มีฝาเป็นเหล็ก และคลิปหนีบกระดาษ  สุดท้ายให้เด็กๆลองนำแท่งแม่เหล็กไปวางว่าบนสิ่งของที่เด็กๆหยิบมาจะดูดจริงหรือไม่  ผลปรากฎว่า ฝาขวด ดูดได้เพียงนิดเดียว แต่คลิปกระดาษนั้นดูดได้เยอะมากๆ
4. เป็นการทดลองหาทิศทาง โดยใช้เชือกผูกไว้ตรงกลางของแท่งแม่เหล็ก ผูกแน่นๆ 2 ทบ แล้วนำไปแขวนกับต้นไม้เพื่อหาทิศทาง แท่งแม่เหล็กแบ่งเป็น 2 สี สีน้ำเงินคือ ทิศใต้ ส่วนสีแดงคือทิศเหนือ ผลการทดลองออกมาว่า แท่งแม่เหล็กที่เด็กๆผูกไว้นั้นหันไปทางทิศเดียวกันหมดทุกแท่ง
5. การทดลองสุดท้าย คือ นำกระดาษA4 มาวางบนแท่งแม่เหล็กแล้วให้เด็กตักผงสีเทาใส่บนกระดาษหลังจากนั้นให้เด็กลองขยับกระดาษไปมา ผลปรากฎว่าผงสีเทาก้คือผงเหล็กและสิ่งที่เกิดขึ้นคือเส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดจากขั้วหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่งเด็กมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นได้เรียนรู้เกี่ยวกับทิศทางเหนือ ใต้ และการทดลองแท่งแม่เหล็กด้วยวิธีต่างๆมากขึ้น 


                               งานวิจัย 


ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
Experimental Results of the Learning Experience Management Focusing on Science
Process Skills of Kindergarten Children 2
ศรีนวล ศรีอ่่า
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ1) ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับ การจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ระหว่างก่อนกับหลังการจัดประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาล
วัดนางใน (ละเอียดอุปถัมภ์)สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557
ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีการจับสลากห้องเรียน 1 ห้องเรียน จ านวน 30 คน เครื่องมือที ่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่ 1)แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์2) แบบประเมินทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ 3)แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.839
วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า
1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้น
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ภาพรวมอยู่ในระดับดี
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์โดยเน้น
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  
 วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัด
ประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัด
ประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนกับหลังจัดประสบการณ์

วิธีการด่าเนินการวิจัย

       การวิจัยนี้ ใช้นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลวัดนางใน (ละเอียดอุปถัมภ์) สังกัดส านักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (simplerandom sampling) โดยวิธีการจับสลากห้องเรียน 1 ห้องเรียน จ านวน 30 คน โดยศึกษาผลจากการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อวัดทักษะการสังเกต ทักษะการจ าแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะมิติสัมพันธ์ และทักษะการลงความเห็นข้อมูล โดยใช้เวลาศึกษา 7 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 20นาที รวมระยะเวลา 35 ครั้ง โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบวัดผลก่อนเรียนและหลังเรียน (one – group pretest –posttest design)


สรุปผลการวิจัย

1) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยเน้น
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ภาพรวมอยู่ในระดับดี (X= 2.51, S.D. = 0.49) 2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01




บันทึกอนุทินครั้งที่ 15



                                                     Recent Posts

                     Science Experiences Management for Early Childhood


 
                                  Teacher  Jintana    Suksamran
    

                                         Time 13:00 to 16:40 pm.       
                                           
                                             28 November 2014 
















>>> นอกจากนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับ เรื่องการใช้คำถามเชิงวิเคราะห์



คำถามใช้สังเกต

1. ลักษณะของกบเป็นอย่างไร
2. ถ้าเราไม่รดน้ำดอกมะลิจะเป็นอย่างไร
3.พื้นผิวของกะหล่ำปรีเป็นอย่างไร

คำถามทบทวนความจำ

1. ไก่ที่เด็กๆรู้จักมีสีอะไรบ้าน
2. กล้วยที่เด็กรู้จักมีอะไรบ้าง
3. ในเนื้อเพลงที่ร้องมีส้มกี่ชนิด

คำถามบอกความหมาย
1. บอกแนวคิด
2.บอกคำจำกัดความ
3. บอกนิยาม

คำถามอธิบาย

1. ทำไมกะหล่ำปลีถึงมีผิวขรุขระ
2. ทำไมดอกมะลิถึงมีกลิ่นหอม
3.ทำไมแปลงสีฟันถึงมีขน


คำถามเปรียบเทียบ

1. กบ กับ ไก่ สัตว์ชนิดไหนตัวใหญ่กว่ากัน
2. กะหล่ำปลีสีม่วง กับกะหล่ำปลีสีเขียว กะหล่ำปลีชนิดไหนมีรสหวาน
3.ดอกมะลิลากับดอกมะลิซ้อนดอกมะลิชนิดไหนมีขนาดเล็กที่สุด


คำถามให้ยกตัวอย่าง

1. ไก่อาศัยอยู่ที่ไหน
2. ส้มที่เด็กๆชอบรับประทานที่สุดมีสีอะไร
3. กล้วยที่เด็กๆชอบมีกล้วยอะไรบ้าง


ประเมินตนเอง

วันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียนเนื่องจากไม่สบาย เนื้อหาที่นำมาทำบล็อกวันนี้ขอมาจากเพื่อนคะ



บันทึกอนุทินครั้งที่ 14



                                                     Recent Posts

                     Science Experiences Management for Early Childhood


 
                                  Teacher  Jintana    Suksamran
    

                                         Time 13:00 to 16:40 pm.       
                                           
                                             21 November 2014 


วันนี้อาจาร์ยให้นำของเล่นมาส่ง

                                                               ของเล่นประเภทเสีย


ของเล่นประเภทลม


ของเล่นประเภทแรงโน้มถ่วง



งานวิวัยของเพื่อน


เรื่องที่ 2 การพัฒนาชุดการสอนหน่วยวิทยาศาสตร์ ชั้น อนุบาล 2 

เรื่องที่ 3 การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมทำเครื่องดื่มน้ำสมุนไพร

       
  จากนั้นอาจาร์ยก็ให้ทำ  WAFFLES 








ประเมินตนเอง 

วันนี้ไม่ได้นำของเล่นมาส่ง แล้วอาจาร์ยถามว่าเพราะอะไรถึงไม่ได้เอามา หนูก็ยอมรับตรงๆว่าลืม แต่อาจาร์ยก็ใจดี ให้เอามาส่งใหม่วันจันทร์ เหตุผลที่อาจาร์ยให้ส่ง เพราะ ยอมรับผิด ดีใจที่สุด !!!!

ประเมินเพื่อน

วันนี้เพื่อนตั้งใจนำเอาของเล่นมาส่งกันทุกคน และตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานวิจัย จากนั้นก็ช่วยกันทำขนม อย่างไม่เสียงดัง

ประเมินอาจาร์ย 

วันนี้อาจาร์ยน่ารักมากๆๆใจดีไม่ว่าไม่บนแถวยังมีอุปกรณ์มาให้ทำขนมอีกด้วย 
















วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทินครั้งที่ 13



                                                     Recent Posts

                     Science Experiences Management for Early Childhood


 
                                  Teacher  Jintana    Suksamran
   

                                         Time 13:00 to 16:40 pm.       
                                           
                                             14 November 2014 




วันนี้อาจาร์ยให้กลุ่มที่ยังไม่นำเสนอออกมาเสนองานต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว

Group  1  หน่อยผีเสื้อ





        เริ่มการสอนโดยใช้เพลงสวัสดีแบบไทย แล้วก็ไปแบบสากล
  แล้วจากนั้นเพื่อนก็นำรูปภาพมา 2 รูป และก็บอกส่วนประกอบของผีเสื้อ

Group  2 หน่อยแปรงสีฟัน






            เริ่มการสอนโดยใช้เพลงสวัสดีอ่านเพลงคำคล้องจองแปรงสีฟันให้เด็กฟัง


                                                   แปรงสีฟัน

                      แปรงสีฟันมีหลายชนิด        แต่ละชนิดมีดีต่างกัน

                      แปรงสีฟันไฟฟ้านั้น            รวดเร็วพลันใช้ได้อย่างดี

                     แปรงสีฟันผู้ใหญ่ก็มี             สะอาดดีเพราะเราแปรงฟัน


สอนให้เด็กรู้จักชื่อลักษณะของแปรงสีฟันว่ามีอะไรบ้าง แปรงสีฟันเด็ก แปรงสีฟันผู้ใหญ่


         พอเพื่อนนำเสนอหน้าชั้นเรียนเสร็จแล้วอาจาร์ยก็สอนทำ ทาโกยากิ







ประเมินตนเอง

  วันนี้เขาเรียนตรงเวลา และวันนี้อาจาร์ยสอนทำ ทาโกยากิ จะนำไปใช้ในการสอนในอนาคตต่อไป

ประเมินเพื่อน

   วันนี้เพื่อนๆตั้งใจทำกิจกรรม กันมากๆเลยคะ

ประเมินอาจาร์ย

    วันนี้อาจาร์ยได้ทำวิธีการทำทาโกยากิมาสอน ทำให้สนุกและเพลิดเพลิน จากที่เครียดจากการนำเสนอแผนมาสองอาทิตย์







วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12



                                                     Recent Posts

                     Science Experiences Management for Early Childhood



                                  Teacher  Jintana    Suksamran
  

                                         Time 13:00 to 16:40 pm.       
                                           
                                             7 November 2014 


วันนี้อาจาร์ยให้แต่ลกลุ่มออกมาเสนอแผนที่อาจร์ยเลือกว่าใหสอนวันจันทร์-ศุกร์ 

Group 1  หน่วยกบ


ขั้นนำ บอกส่วนประกอบของกบและความแตกต่างระหว่างกบนา กับ กบ บลูฟร็อก

ขั้นสอน   1.ร้องเพลงกบ
               2. ครูมีรูปภาพกบนา  กับ กบปลูฟร็อก มาให้เด็กดู และให้เด็กบอกระหว่างความแตกต่างของ กบทั้ง 2 ชนิด จากนั้น ครูเขียนตามที่เด็กบอกลงในแผ่นชาร์ต

ขั้นสรุป  ครูและเด็กช่วยกันอ่านความแตกต่างระหว่าง กบทั้ง 2 ชนิด ร่วมกัน



Group  2 หน่วยกะหล่ำปลี








ขั้นนำ   ให้การตบมือเพื่อเก็บเด็กให้มีความพร้อมที่จะเรียน

ขั้นสอน   ร้องเพลงกะหล่ำปลี

                 ขาว ขาว ขาว หนูเคบเห็นขาวบ้างหรือเปล่า
            แอะ มันคือกะหล่ำปลี  ดูซิ ดูซิ น่าลองจัง
            หวาน หวาน กรอบ กรอบ สีสวยดี ทำอาหารน่ากิน
  
ขั้นสรุป    ถามเด็กว่ากะหล่ำลีมีประโยชน์อย่างไร


Group  3 หน่วยส้ม  


                                        






ขั้นนำ  ร้องเพลง   ตบมือเปาะแปะ เรียกแพะเข้ามา แพะไม่มา ปิดประตูรูดซิบ 
ขั้นสอน  ครูสาธิตการทำน้ำส้มคั้นให้เด็กดู และขอตัวแทนเด็ก2คน ออกมาทำน้ำส้มคั่น ซึ้งครูอธิบายการทำน้ำส้มคั่น



Group  4 หน่วยอกมลิ



ขั้นนำ   บอกส่วนประกอบ และวิธีการทำดอกมะลิชุบแป้งทอด

ขั้นสอน    สาธิตการทำและให้เด็กแบ่งกลุ่ม และค่อยให้เด็กสังเกตและใช้คำถามกระตุ้น


Group  5 หน่วยไก่




ขั้นนำ  ท่องคำคล้องจองเกี่ยวกับไก่ โดยให้ท่องตามครู1รอบแล้วท่องพร้อมๆกัน
  
       กอไก่กุ๊กกุ๊ก       เข้าอยู่ทุ่งนา
     สายอยู่ทุ่งหญ้า   เย็นพาเข้าสุ่ง
     เดินย่องยุ้มๆ       ทั้งเขี่ยอาหาร
     รวมทั้งพืชผัก      ข้าวเปลือกข้าวสาร
     ที่เป็นอาหาร        ทั้งหนอนใส้เดือน
     แล้วทุกหกเดือน  ต้องฉีดวัคซีน
     เพื่อป้องกันโรค    ให้ไก่แข็งแรง



ประเมินตนเอง  

 วันนี้เพื่อนแต่ละกลุ่มออกมานำสนอน่าสนใจทุกกลุ่ม ดิฉันสนใจฟังและพยายามมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน

  เพื่อนๆตั้งใจรียนฟังเพื่อนนำเสนอดีมากๆลยคะ

ประเมินอาจารย์  

 อาจารย์ให้คำแนะนำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวิธีที่จะสอน เช่น ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุปกับนักศึกษาดีมาก